วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แบบฝึกหัด 8-9






       แบบฝึกหัด          
1. ในการวางแผนองค์กร ประกอบด้วยกระบวนการพื้นฐานอะไรบ้าง
ตอบ 1. วิสัยทัศน์และแผนกลยุทธ์ขององค์การ
วิสัยทัศน์ : องค์การกำลังมุ่งไปในทิศทางใด
-แผนกลยุทธ์ : องค์การจะเดินไปตามทิศทางที่กำหนดไว้อย่างไร
2. ระบบสารสนเทศจะสนับสนุนวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์การอย่างไร
ระบบสารสนเทศจะมีบทบาทในการสนับสนุนวิสัยทัศน์ขององค์การอย่างไร
ระบบสารสนเทศเดิมเป็นอย่างไร
-แผนระบบสารสนเทศในปัจจุบันเป็นอย่างไร
-แผนระบบสารสนเทศในอนาคตจะพัฒนาในลักษณะอย่างไร
3. ระบบสารสนเทศในปัจจุบัน
ระบบปัจจุบันได้สนับสนุนองค์การมากน้อยเพียงไร
ระบบปัจจุบันมีความเหมาะสมหรือไม่ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร
 -ควรจะปรับปรุงระบบปัจจุบันอย่างไร
4. ระบบสารสนเทศที่เสนอแนะ
 -หลักการและเหตุผล
ความสามารถของระบบใหม่
-  ฮาร์ดแวร์                                                                                          
-ซอร์ฟแวร์
 - ข้อมูล และการสื่อสารข้อมูล
5. กลยุทธ์ทางการบริหาร
  -แผนการจัดหา
 -ช่วงเวลาดำเนินการ
การจัดโครงสร้างองค์การใหม่
 - การปรับปรุงระบบงานภายในองค์การ
การควบคุมทางการบริหาร
 - การฝึกอบรม

2. การวางแผนกลยุทธ์มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งใด
ตอบ การวางแผนเชิงกลยุทธ์นั้น เป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการกําหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่
ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทํางานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง
สําหรับการทํางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการ
ระบบการทํางานที่คล่องตัว ต้องการดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับ
การเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อความอยู่รอด (Survive) และความก้าวหน้า (Growth) ขององค์การของหน่วยงาน หรือ
ของธุรกิจของตนในอนาคต
การวางแผนกลยุทธ์หรือการวางแผนเชิงกลยุทธ์นี้ มีส่วนเป็นอย่างมากต่อการสร้างความเป็นผู้นํา
(Leadership) หรือในการสร้างภาพลักษณ์ (Image) ที่แสดงถึงจุดเด่นของหน่วยงาน ขององค์การหรือของธุรกิจในการ
วางแผนกลยุทธ์นั้น จะมีการกําหนดเป้าหมายรวมขององค์การ สําหรับการดําเนินในอนาคต ที่เรียกว่าวิสัยทัศน์ มี
การคิดในเชิงรุก มุ่งเอาดี เอาเด่น เอาก้าวหน้า ก้าวไกล มุ่งเอาชนะเอาความยิ่งใหญ่ เน้นคุณภาพ เอาความเป็นเลิศ
3. จงสรุปขั้นตอนการวางแผนระบบสารสนเทศมาให้พอเข้าใจ
ตอบ 1.กำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์
                   เพื่อยึดเป็นแนวทางในการวางแผนปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์นั้น โดยหลักสำคัญของการกำหนดเป้าหมายก็คือ เป้าหมายต้องมีความชัดเจน ทุกฝ่ายเข้าใจตรงกัน อยู่บนพื้นฐานของความจริง และปฏิบัติได้
2.  วางแผนสิ่งแวดล้อม
                             เป็นการค้นหาประโยชน์ และปัญหาที่จะกระทบต่อแผนในระยะยาวที่วางเอาไว้
*  วางแผนสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร (Internal Environment) การพิจารณาถึงบุคลากรในองค์กรว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะใช้ระบบสารสนเทศหรือไม่
*  วางแผนสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร (External Environment) พิจาณาถึงปัจจัยในด้านการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ 

ซอฟต์แวร์ และการขยายระบบในอนาคต หรือปัญหาเกี่ยวกับลิขสิทธิ์
ของซอฟต์แวร์

 3.  จับประเด็นที่เป็นกลยุทธ์
 การเลือกทิศทางที่องค์กรต้องการจะก้าวไปในอนาคต หรือในระยะยาวเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น


4.  กำหนดกลยุทธ์
กลยุทธ์เป็นแผนระยะยาวที่องค์กรกำหนดขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานขององค์กรให้บรรลุถึงเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่วางไว้
5.  กำหนดนโยบาย
   นโยบายเป็นแผนปฏิบัติเพื่อให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ที่วางไว้ ก็คือ กลยุทธ์เป็นแผนที่บอกถึงทิศทางการดำเนินไปให้ถึงเป้าหมาย แต่นโยบายเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อให้องค์กรดำเนินไปตามกลยุทธ์
6.  กำหนดแนวทาง และขั้นตอน
การนำนโยบายมาแตกย่อยเป็นวิธีและขั้นตอนในการปฏิบัติงานจริง ซึ่งเป็นงานของผู้บริหารระดับล่างที่จะเป็นผู้กำหนดแนวทางและขั้นตอนปฏิบัติเพื่อใช้ควบคุมการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

4. วงจรพัฒาระบบ SDLC มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้างจงอิบาย
ตอบ     (System Development Life Cycle (SDLC))
ระบบสารสนเทศทั้งหลายมีวงจรชีวิตที่เหมือนกันตั้งแต่เกิดจนตายวงจรนี้จะเป็นขั้นตอนที่เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนเสร็จเรียบร้อย เป็นระบบที่ใช้งานได้ ซึ่งนักวิเคราะห์ระบบต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าในแต่ละขั้นตอนจะต้องทำอะไร และทำอย่างไร ขั้นตอนการพัฒนาระบบมีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้น ด้วยกัน คือ
1. เข้าใจปัญหา (Problem Recognition)
2. ศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
3. วิเคราะห์ (Analysis)
4. ออกแบบ (Design)
5. สร้างหรือพัฒนาระบบ (Construction)
6. การปรับเปลี่ยน (Conversion)
7. บำรุงรักษา (Maintenance)

 5. จริยธรรมหมายถึงอะไร 
ตอบ จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติ ที่สังคมมุ่งหวังให้คนในสังคมนั้นประพฤติ มีความถูกต้องในความประพฤติ มีเสรีภาพภายในขอบเขตของมโนธรรม (Conscience) เป็นหน้าที่ที่สมาชิกในสังคมพึงประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคม ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในสังคม การที่จะปฏิบัติให้เป็นไปเช่นนั้นได้ ผู้ปฏิบัติจะต้องรู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด
6. ประเด็นทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ R.O. Mason และคณะ (2001) ได้จำแนกประเด็นเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภท คือ
          1.) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy)
          2.) ประเด็นความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy)
          3.) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property)
          4.) ประเด็นของความเข้าถึงได้ของข้อมูล (Accessibility)
                                                         

7. อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คืออะไร และจะมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่
1.      การเงิน อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)


2.      การละเมิดลิขสิทธิ์ การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์


3.      การเจาะระบบ การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ) 


4.      การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว 


5.      ภาพอนาจารทางออนไลน์ ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง 


6.      ภายในโรงเรียน ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
-          การรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
การรักษาความปลอดภัยให้ระบบสารสนเทศมีความปลอดภัย และยังช่วยลดข้อผิดพลาด การทำลายระบบสารสนเทศ มีระบบการควบคุมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
     การควบคุมระบบสารสนเทศ
              *      การควบคุมอินพุท
      การควบคุมการประมวลผล
      การควบคุมฮาร์ดแวร์
      การควบคุมซอร์ฟแวร์
       การควบคุมเอาท์พุต
 การควบคุมกระบวนการ
 •                   มอบหมายให้หน่วยงานอื่นรับผิดชอบข้อมูลขององค์กร
 •                   การใช้รหัสผ่านในการเข้าถึงข้อมูลมูล
 •                   การสร้างแบ็คอัพไฟล์ข้อมูล
 การควบคุมอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
                   การมีการทำงานที่เป็นมาตรฐานและคู่มือ
                   การอนุมัติเพื่อพัฒนาระบบ
                   การมีแผนการป้องกันการเสียหาย
                   การตรวจสอบระบบสารสนเทศ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น