วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ



ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

ข้อมูล, สารสนเทศ และการจัดการ
   ข้อมูล (Data) หมายถึงค่าความจริง ซึ่งแสดงถึงความเป็นจริงที่ปรากฏขึ้น เช่น ชื่อพนักงานและจำนวนชั่วโมงการทำงานในหนึ่งสัปดาห์, จำนวนสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้า เป็นต้น ข้อมูลมีหลายประเภท เช่น ข้อมูลตัวเลข ข้อมูล ตัวอักษร ข้อมูลรูปภาพ ข้อมูลเสียงและข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งข้อมูลชนิดต่างๆ เหล่านี้ใช้ในการนำเสนอค่าความจริงต่างๆ โดยค่าความจริงที่ถูกนำมาจัดการและปรับแต่งเพื่อให้มีความหมายแล้ว จะเปลี่ยนเป็นสารสนเทศ
    สารสนเทศ (Information) หมายถึงกลุ่มข้อมูลที่ถูกจัดการตามกฎหรือ ถูกกำหนดความสัมพันธ์ให้ เพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นเกิดประโยชน์หรือมีความหมายเพิ่มมากขึ้น ประเภทของสารสนเทศขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น จำนวนยอดขายของตัวแทนจำหน่ายแต่ละคนในเดือนมกราคมจัดเป็นข้อมูล เมื่อนำมาประมวลผลรวมกันทำให้ได้ยอดขายรายเดือนของเดือนมกราคม ทำให้ผู้บริหารสามารถนำยอดขายรายเดือนมาพิจารณาว่ายอดขายเป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรหรือไม่ได้ง่ายขึ้น ยอดขายรายเดือนนี้จึงจัดเป็นสารสนเทศ หรือตัวอย่าง เช่น ตัวเลข 1.1, 1.5, และ 1.6 จัดเป็นข้อมูลตัวเลข เนื่องจากเป็นค่าความจริงซึ่งยังไม่สามารถแปลความหมายใดๆ ได้แต่ข้อมูลเหล่านี้จัดเป็นสารสนเทศเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่บ่งบอกความหมายของข้อมูลได้มากขึ้น เช่น เมื่อกล่าวว่า ตัวเลขเหล่านี้คือยอดขายประจำเดือนมกราคม กุมภาพันธ์และมีนาคม โดยมีหน่วยเป็นหลักล้าน จะทำให้ตัวเลขทั้ง 3 มี ความหมายเกิดขึ้น หรืออาจกล่าวได้ว่ายอดขายเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมมีค่าเท่ากับ 1.4 ล้าน จัดเป็น สารสนเทศที่เกิดขึ้นจากข้อมูลตัวเลขทั้ง 3
   ขบวนการ (Process) หมายถึงการแปลงข้อมูลให้เปลี่ยนเป็นสารสนเทศหรือกล่าวได้ว่า ขบวนการคือกลุ่มของงานที่สัมพันธ์กัน เพื่อทำให้เกิดผลลัพธ์ตามที่ต้องการ รูปที่ 1 แสดงขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ





รูปที่ 1 ขบวนการแปลงข้อมูลเป็นสารสนเทศ
 




   การจัดการ (Management) หมายถึงการบริหารอย่างมีระบบ ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายและ ทิศทางขององค์กรและการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ซึ่งจะต้องมีการวางแผน การจัดการ การกำหนดทิศทางและการควบคุมเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดของระบบและการทำตัวแบบ
    ระบบ (System) หมายถึงกลุ่มส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆที่มีการทำงานร่วมกัน เพื่อให้ ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยส่วนประกอบและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ในระบบ จะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถทำงานได้อย่างไร เพื่อให้ผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ โดยระบบแต่ละระบบถูกจำกัดด้วยขอบเขต (System Boundary) ซึ่งจะเป็นตัวแยกระบบนั้นๆ ออกจากสิ่งแวดล้อม ดังแสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในระบบดังรูปที่ 2





รูปที่ 2 ความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆ ในระบบ
 




ประเภทของระบบ
ระบบสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆได้หลายกลุ่ม ดังนี้
1. ระบบอย่างง่าย(Simple) และระบบที่ซับซ้อน (Complex)- ระบบอย่างง่าย (Simple) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบน้อยและความสัมพันธ์หรือการโต้ตอบระหว่างส่วนประกอบต่างๆ ไม่ซับซ้อน ตรงไปตรงมา
- ระบบที่ซับซ้อน (Complex) หมายถึง ระบบที่มีส่วนประกอบมากหลายส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์และมีความเกี่ยวข้องกันค่อนข้างมาก
2. ระบบเปิด(Open) และระบบปิด (Close)- ระบบเปิด (Open) คือ ระบบที่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
- ระบบปิด (Close) คือ ระบบที่ไม่มีการโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อม
3. ระบบคงที่ (Static) และระบบเคลื่อนไหว (Dynamic)- ระบบคงที่ (Static) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเมื่อเวลาผ่านไป
- ระบบเคลื่อนไหว (Dynamic) คือ ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่ตลอดเวลา
4. ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) และระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive)- ระบบที่ปรับเปลี่ยนได้ (Adaptive) คือระบบที่สามารถเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้
- ระบบที่ปรับเปลี่ยนไม่ได้ (Nonadaptive) คือระบบที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง เพื่อตอบโต้กับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้
5. ระบบถาวร (Permanent) และระบบชั่วคราว (Temporary)- ระบบถาวร(Permanent) คือระบบที่มีอยู่ในช่วงระยะเวลายาวนาน
- ระบบชั่วคราว(Temporary) คือระบบที่มีอยู่เพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ




ประสิทธิภาพของระบบ
ประสิทธิภาพของระบบสามารถวัดได้หลายทาง ได้แก่
    ประสิทธิภาพ (Efficiency) คือการวัดสิ่งที่ถูกผลิตออกมา หารด้วยสิ่งที่ถูกใช้ไป สามารถแบ่งช่วงจาก 0 ถึง 100% ตัวอย่างเช่น ประสิทธิภาพของเครื่องมอเตอร์เครื่องหนึ่งคือพลังงานที่ผลิตออกมา (ในรูปของงานที่ทำเสร็จ) หารด้วยได้พลังงานที่ใช้ไป (ในรูปของไฟฟ้าหรือเชื้อเพลิง) เครื่องมอเตอร์บางเครื่องมีประสิทธิภาพ 50% หรือน้อยกว่า เนื่องจากพลังงานสูญเสียไปในการเสียดทาน และกำเนิดความร้อน
   ประสิทธิผล (Effectiveness) คือการวัดระดับการประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของระบบ สามารถคำนวณได้ด้วยการ หารสิ่งที่ได้รับจากการประสบผลสำเร็จจริง ด้วยเป้าหมายรวม เช่น บริษัทหนึ่งมีเป้าหมายในการลดชิ้นส่วนที่เสียหาย 100 หน่วย เมื่อนำระบบการควบคุมใหม่มาใช้อาจจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้ ถ้าระบบควบคุมใหม่นี้สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนที่เสียหายได้เพียง 85 หน่วย ดังนั้นระดับของประสิทธิผลของระบบควบคุมนี้จะเท่ากับ 85%
การทำตัวแบบของระบบ
    ในโลกแห่งความเป็นจริงค่อนข้างซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อต้องการทดสอบความสัมพันธ์แบบต่างๆ และสังเกตผลที่เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้ตัวแบบของระบบนั้นๆ แทนที่จะทดลองกับระบบจริง ตัวแบบ (Model) คือตัวแทนซึ่งเป็นแนวคิดหรือเป็นการประมาณเพื่อใช้ในการแสดงการทำงานของระบบจริง ตัวแบบสามารถช่วยสามารถสังเกตและเกิดความเข้าใจต่อผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ในโลกแห่งความเป็นจริงได้ ตัวแบบมีหลายชนิด ได้แก่
1. .
TC = (V)(X)+FC
โดยที่
TC = ค่าใช้จ่ายรวม
V = ค่าใช้จ่ายผันแปรต่อหน่วย
X = จำนวนหน่วยที่ถูกผลิต
FC = ค่าใช้จ่ายคงที่
      ในการสร้างตัวแบบแบบใดๆ จะต้องพยายามทำให้ตัวแบบนั้นๆสามารถเป็นตัวแทนระบบจริงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อให้ได้ทางแก้ปัญหาของระบบที่ถูกต้องมากที่สุด






ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร ?



                                        ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร ?


ข้อมูล  หมายถึง  ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล  ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินงานที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วและเก็บข้อมูล  ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง  แม่นยำ  และรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสม  อาจมีทั้งประเภทตัวเลข ข้อความ วันที่ รูปภาพ เช่น ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  คะแนนของนักเรียน เป็นต้น

สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งาน  เช่น ผลเกรดของนักเรียน อัตราส่วนของนักเรียนกับอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นต้น

ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร?

ข้อมูล เป็นส่วนของข้อเท็จจริง ยังไม่ได้ผ่านการตัดสินใจ ส่วนสารสนเทศ จะนำข้อมูลมาผ่านการตัดสินใจ นำไปใช้ทันที

อ้างอิงจาก

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

    องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
       การสื่อสารข้อมูล(datacommunication)คือการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่2ตัวขึ้นไปซึ่งข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันนี้มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่าง เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้นเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ การสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็เหมือนกับการพูดระหว่างนักเรียนในกลุ่มหรือการโทรศัพท์คุยกัน ข้อมูลในที่นี้คือบทสนทนาที่นักเรียนแปลกเปลี่ยนกันนั่นเอง เราสามารถเปรียบเทียบการใช้งานคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการนำ ระบบเครือข่ายมาใช้ได้ดังนี้
สมัยก่อน : เราจะต้องพิมพ์ข้อมูลออกมาเป็นเอกสาร หรือเก็บข้อมูลลงแผ่นบันทึก แล้วอาศัยพนักงานในการส่งเอกสารและแต่ละคนจะทำงานโดยอาศัยทรัพยากรหรือซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในเครื่องตนเอง
ปัจจุบัน : เราสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่าย และยังสามารถใช้ทรัพยากรทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ร่วมกันได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการทำงานและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
   ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล

ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลจะสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย 6 ปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่ง (sender หรือ sending device) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เริ่มออกคำสั่งในการส่งข้อมูล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
2. ข้อมูลข่าวสาร (message) คือข้อมูลที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นข้อความตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น
3. โพรโทคอล (protocol) คือข้อกำหนดมาตรฐาน หรือข้อตกลงในเรื่องรูปแบบของข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโพรโทคอลเปรียบเสมือนภาษาที่นักเรียนใช้ในการพูดคุยกัน ถ้าเราใช้ภาษาไทยในการสนทนาเพื่อนทุกคนก็เข้าใจแต่ถ้านักเรียนใช้ภาษาอื่นที่เพื่อนไม่รู้จักจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถสื่อสารกันได้
4. ช่องทางการสื่อสาร (communication channel) คือช่องทาง หรือเส้นทางในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ อันได้แก่ สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุและสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
5. ตัวแปลงสัญญาณ (communication device) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูลที่ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่จะใช้และแปลงสัญญาณที่ได้จากช่องทางการส่งข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับเข้าใจ
6. ผู้รับ (receiver หรือ receiving device) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกับผู้ส่งหรือไม่ก็ได้ อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเวิร์กสเตชันหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เป็นต้น
     
 การส่งสัญญาณข้อมูล
    การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งก็ได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้

       รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One – way หรือ Simplex) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูดเพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
 3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูดโทรศัพท์
   
ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
1. แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

 - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและ นิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ 

 - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและ นิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
- สาย Coaxial สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวน พลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
- ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆคล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็ว ในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง

  ข้อดีของใยแก้วนำแสง คือ

1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มากก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา

2. แบบไม่มีสาย เช่น ไมโครเวฟ, ดาวเทียม , 3G ระบบ 3G ( UMTS ), Wireless X และ GPRS


- ไมโครเวฟ (Microwave)

สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ – ส่ง คือ จานสัญญาณไมโครเวฟซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูง และมักจะให้อยู่ห่างกัน ประมาณ 25 – 30 ไมล์ ข้อดีของการส่งสัญญาณด้วยระบบ ไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้าง
และการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนแทบไผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ 
ม่มีเลย แต่ถ้าระหว่างจานสัญญาณไมโครเวฟมีสิ่งกีดขวางก็จะทำให้การส่งสัญญาณไม่ดีหรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครเวฟนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่าเขา
- ดาวเทียม (Satellite)
มีลักษณะการส่งสัญญาณคล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับ – ส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ ดาวเทียมจะทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดีของการสื่อสารผ่านดาวเทียม
คือ ส่งข้อมูลได้มากและมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
- 3G ระบบ 3G (UMTS)
คือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น
- Wireless X
Wireless X หรือระบบ Network แบบไร้สาย ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11ซึ่งอุปกรณ์ทุกตัว ที่ต่างยี่ห้อกันนั้นจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ประสบปัญหา หากอุปกรณ์นั้นผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานก็จะมีการประทับตรา Wi-Fi Certified ซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ตัวนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ อุปกรณ์อื่นที่มีตรา Wi-Fi Certified ได้ แล้วจึงกลายมาเป็นคำศัพท์ของอุปกรณ์ LAN ไร้สาย
- GPRS
- เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้งและทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูล รวดเร็วยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
- นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbpsช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต ได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
- การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference

เอกสารอ้างอิง>>
                             : http://school.obec.go.th/suwalag/00/sersan1.html :                     http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/24/n1_217.html

วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556


ระบบการสื่อสาร 2G  3G 4G และ 5G

              


 เป็นที่รู้กันว่าก่อนที่จะมีการสื่อสารในระบบ 2G หรือ 3G ในปัจจุบันนั้น  เมืองไทยเราและทั่วโลกได้มีพัฒนาระบบการสื่อสารจากการสื่อสารผ่านบุคคลหรือสื่อกลาง เช่น การไปรษณีย์ เป็นต้น  มาเป็นการสื่อสารระบบ 1G หรือศัพท์เฉพาะทางวงการเรียกว่า ระบบการสื่อสารแบบ Analog คือ การใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียวเท่านั้น คือ โทรออกและรับสาย เท่านั้นไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน ข้อมูลและ Application ดังเช่นปัจจุบัน  แม้แต่การรับหรือส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1G เพราะในยุคนั้น ความจำเป็นในการใช้งานด้านอื่นๆ  นอกจากเสียงเพื่อการติดต่อสื่อสารยังไม่แพร่หลาย  และการใช้โทรศัพท์ยังไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเท่าใดนัก อีกทั้งโทรศัพท์ก็มีราคาแพงผู้บริโภคที่สามารถเข้าถึงได้จึงมีแต่นักธุรกิจที่มีรายได้สูงๆ เท่านั้น
  
 ตัวอย่างการสื่อสารระบบ 1G ที่เราคุ้นเคยในอดีต คือ โทรศัพท์รูปแบบใหญ่เทอะทะ  การใช้งานง่ายๆ  ไม่มีการโชว์เบอร์หรือหน้าจอที่สวยงาม ใช้ได้แค่เพียงรับสายหรือโทรออกเพื่อคุย บางครั้งเราก็เรียกเป็นทำนองล้อเลียนตามขนาดของโทรศัพท์ว่า รุ่น “กระดูกหมู” บ้างก็มี  และที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งก็คือ เพจเจอร์ที่รับเฉพาะข้อความจากผู้ส่งผ่านเครือข่ายที่ให้บริการ  เมื่อในอดีตที่ผ่านมานั่นเอง  การให้บริการระบบ 1G เริ่มต้นในปีค.ศ. 1980  จนเริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ  มาเป็นการสื่อสารแบบระบบ 2G  หรือการสื่อสารระบบ Digital ต่อมา

     เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 2G ( Second Generation )  

เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร  จากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital โดยส่งทางคลื่นไมโครเวฟ  ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งานเสียงเพียงอย่างเดียวเหมือนในอดีต  2G นี้  เราสามารถ รับและส่งข้อมูลต่าง ๆ และติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming  
GSM เดิมเป็นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูลาร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับบริการสื่อสารทางเสียงและการรับหรือส่งข้อมูลแบบง่ายๆ ซึ่งได้รับความนิยมในปัจจุบันทั้งในเอเชียและยุโรป  ตัวอย่างการสื่อสารในระบบ 2G  ในยุคแรกๆ ที่เราคุ้นเคย  ก็คือการผลิตโทรศัพท์มือถือที่หน้าจอเป็นสีขาวดำ  เช่น รุ่น Nokia 3310 ที่เคยได้รับความนิยมก่อนหน้านี้  โดยนอกจากจะมีรูปแบบการสื่อสารทางเสียงแล้วยังเพิ่มคุณสมบัติการสื่อสารทาง sms หรือข้อความ  และเพิ่ม Application อย่างง่ายๆ เข้าไป เช่น  ปฏิทิน เกม นาฬิกาปลุก เป็นต้น สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่เวปไซต์อธิบายวิวัฒนาการการสื่อสาร ที่ http://mblog.manager.co.th/watokung/th-77667/
ยุคระบบ 2G  ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ  ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลงกว่ายุค 1G ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้นรวมทั้งในประเทศไทยด้วย  ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Download Ringtone แบบ Monotone และ ภาพต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น  แต่หลังจากนั้นไม่นานรูปแบบการสื่อสารก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นระบบ 2.5 และ 2.75G จากระบบเสียงโมโนโทน  เริ่มพัฒนาเป็นเสียงโพลีโฟนิกซ์และเสียงแบบสมจริงเหมือน mp3 ปัจจุบันมีแนวโน้มจะพัฒนาไปเป็นระบบ 3G เรื่อยๆ
ก่อนจะกล่าวถึงระบบ 3G ข้าพเจ้าขออธิบายถึง ระบบ 2.5 และ2.75G ก่อนเพื่อให้ท่านทราบถึงความสัมพันธ์ของแต่ละระบบว่าเป็นอย่างไร
2.5G เป็นรูปแบบกึ่งกลางระหว่าง 2G และ 3G ยุคนี้เป็นยุคที่กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service)  ตามหลักการแล้ว เทคโนโลยี GPRS นี้สามารถส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (1G ส่งข้อมูลได้ 9 Kbps ต่อวินาที) แต่ในบ้านเราใช้ได้แค่ 40 Kbps ต่อวินาทีเท่านั้น   2.5Gนี้มีการพัฒนาให้เครื่องมือสื่อสารมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้แต่ยุคนี้ยังเป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ  ดาวโหลดได้ช้าและได้จำนวนน้อย  ซึ่งเราจะเห็นตัวอย่างง่ายๆ จากโทรศัพท์มือถือที่เป็นสีรุ่นแรกๆ  นั่นเองส่วนระบบ 2.75G นั้นเป็นการเริ่มใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) หรือบ้านเราเรียกว่า “เอดจ์”  EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดจากการพัฒนาของ GPRS ลักษณะการทำงานจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น  มีความเร็วระดับกว่า  40  Kbpsในระบบ 2G  ถึง 4 เท่าตัว แต่เราไม่ค่อยคุ้นเคยกับศัพท์นี้  เพราะทางผู้ผลิตได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและไม่ได้ประกาศให้ผู้บริโภคทราบอย่างเป็นทางการ  ในความเป็นจริงแล้วเรามักซื้อโทรศัพท์ตามลูกเล่นและราคา  ไม่ได้ศึกษาถึงรายละเอียดอย่างแท้จริง  จึงไม่ทราบว่าเป็นรูปแบบระบบไหน  ในเมืองไทยปัจจุบันถือว่าเป็นรูปแบบ 2.75G นี้เอง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่คาบเกี่ยวกับระบบ 3G  สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของเทคโนโลยีเอดจ์ในรูปแบบ 2.75จี  นี้ได้ที่เว็ปไซต์http://www.vcharkarn.com/vblog/34978


     เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 3G ( Third Generation )

เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง  ซึ่งแต่เดิมเครื่องมือสื่อสารทำได้เพียงรับส่งข้อมูลภาพและเสียงต่างเวลาและสถานที่กัน  การสนทนาก็มีเพียงแค่เสียงไม่สามารถเห็นหน้าขณะสนทนาได้แต่ระบบนี้ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพมาก เช่น การรับ-ส่ง Fileข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก การใช้บริการ Video/ Call Conference หรือการสนทนาผ่านระบบวีดีโอ ที่มองเห็นหน้าและสามารถพูดคุยกันได้เสมือนอยู่ต่อหน้ากัน  และสามารถ Download เพลงและดู TV Streaming ได้อย่างรวดเร็วและสะดวก  คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On กล่าวคือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดใช้งานโทรศัพท์โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อและล็อกอินเข้าเครือข่ายข้อมูลเหมือนจีพีอาร์เอส  ระบบภาพและเสียงที่มีประสิทธิภาพสมจริง  สามารถประชุมทางไกลร่วมกันเพียงผ่านเครื่องมือสื่อสาร  การดาวโหลดและอัพโหลดข้อมูลปัจจุบันอยู่ที่Download 14.4 Mbps / Upload 384 Kbps ต่อวินาที  ในอนาคตมีแนวโน้มว่าอัตราการดาวและอัพโหลดข้อมูลจะมากถึง 42 Mbps ต่อวินาทีเลยที่เดียว  การทำงานเปรียบได้กับการมีคอมพิวเตอร์กะทัดรัดที่สามารถพกพาได้เลยทีเดียว 
ตัวอย่างอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G คือ mobile phone เช่น ไอโฟน 3จีที่คนไทยรู้จักกันดี , PDA (Personal Digital Assistant) , Laptop , Palmtop , PC (Personal Computer) เป็นต้น  ในเมืองไทยระบบนี้ยังไม่มีใช้งาน  เพราะติดขัดด้านกฎหมายหลายอย่าง  อย่างไรก็ดีในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศเริ่มมีการใช้ระบบ 4Gแล้ว  ในทรรศนะของข้าพเจ้าคิดว่า 3G เป็นระบบเครือข่ายแบบก้าวกระโดด  กล่าวคือการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วความโดดเด่นอาจไปปรากฏในลักษณะรูปแบบ 4G พูดง่ายๆก็คือ 3G เป็นเพียงจุดเริ่มต้นการพัฒนาสู่ระบบ 4G นั่นเอง


    เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 4G ( Forth Generation )

เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ (IP digital packet )  เป็นเส้นทางโอนถ่ายข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยสายเคเบิล  ระบบเครือข่ายนี้สามารถใช้งานได้แบบไร้สาย  รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง   สามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงมากกว่าระบบ 3G ที่เพิ่มขึ้นถึง 100 Mbps ต่อวินาที  ให้ความยืดหยุ่นสูง  สามารถครอบ คลุมพื้นที่ได้กว้างไกล  และถือเป็นความ เร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้ 
ระบบนี้สามารถใช้งานด้านการสื่อสารได้ทั่วโลก  ส่งข้อมูลได้มากกว่ามีความสมบูรณ์แบบมากที่สุดและราคาถูก  เช่น หากเราต้องการดาวโหลดหนังหรือเพลงสักหนึ่งข้อมูลลง  ก็สามารถดาวโหลดได้ทันทีและรวดเร็วเสมือนใช้อินเตอร์เน็ตจากพีซีที่บ้าน  แต่สะดวกและรวดเร็วกว่าตรงที่ไม่ต้องใช้สายและราคาถูกกว่า 3G มาก (ศึกษาเปรียบเทียบจากการพัฒนาเพื่อการใช้งานของระบบ 4G ในต่างประเทศที่จะเริ่มให้บริการ  เพราะปัจจุบันเทคโนโลยี 4G ยังไม่ได้รับการยืนยันถึงความเป็นไปได้ และความชัดเจนที่แน่นอนจากประเทศที่พัฒนาระบบนี้ )  ในบางครั้งหากเราต้องการดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น  ก็สามารถรับชมได้ทันทีจากการส่งข้อมูลของผู้ที่เราสนทนาด้วย  เรียกได้ว่าเป็นการสื่อสารอย่างหูทิพย์ตาทิพย์แบบปัจจุบันทันด่วนเลยทีเดียว
     เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระบบ 5G ( Five Generation )
            หลักการ 5G คืออะไร
1.) หลักการ 3G + หลักการทางทฤษฎีและระเบียบกฎเกณฑ์
หลักการ 3G เป็นคำศัพท์ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายสาขาของอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุมบริหารการผลิตหลักการ 3G นี้ มาจากศัพท์ 3 คำในภาษาญี่ปุ่น โดยมีความหมายว่า จงไปที่พื้นที่จริง (GENBA) ไปดูของจริง( GENBUTSU ) และ สถานการณ์จริง (GENJITSU) ความหมายแฝงของหลักการ 3G คือ การที่เรานั่งทำงานอยู่บนโต๊ะเพียงอย่างเดียว จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นหรือทราบถึงความเป็นจริงได้ ดังนั้น เราควรจะเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดปัญหา ใช้สายตาของตนมองปัญหาที่เกิดขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลจากสภาพแวดล้อมและความเป็นจริงที่ได้รับทราบ แล้วจึงค่อยตัดสินใจแก้ไขปัญหา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
จากการนำเอาหลักการ 3G ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งประกอบไปด้วย พื้นที่จริง ของจริง และประสบการณ์จริง มารวมกับ สิ่งที่ควรเป็นมาตรฐานในการตัดสินใจอีก 2 ประการ มาเพิ่มเติมเข้าไป นั่นคือ หลักการทางทฤษฎี( GENRI ) และ ระเบียบกฎเกณฑ์ (GENSOKU) ทำให้เกิดหลังการ 5G ขึ้นมา
คงจะต้องอธิบายว่า ทำไมจึงนำเอา หลักการทางทฤษฎี และ ระเบียบกฎเกณฑ์ มารวมกับ พื้นที่จริง ของจริง
และ สถานการณ์จริงในการปฏิบัติงาน ทำให้เป็นหลักการ 5G ขึ้นมา 
เหตุผลก็คือ มีคนจำนวนมากที่นำเอาหลักการ 3G ไปใช้ปฏิบัติจริง หากแต่ยังขาดหลักการและทฤษฎีอยู่ เป็นเพราะหลักการ 3G นี้ มิได้รวมเอาสิ่งที่ควรเป็นมาตรฐานในการตัดสินใจเข้าไปด้วย ตามปรกติแล้วคนที่มีความคิด จะมีการตัดสินใจจากประสบการณ์ที่ตงเองเคยผ่านมา หากแต่มันขาดหลักการทางกฤษฎีและระเบียบเกณฑ์ ทำให้การตัดสินใจนั้นเกิดความเคยชิน และรวดเร็ว ถึงแม้จะเป็นคนที่มีการตัดสินใจดีและรวดเร็วเพียงใดก็ตามแต่หากสิ่งนั้นไม่ได้เป็นไปตามหลักการทางทฤษฎ
ีและระเบียบเกณฑ์แล้ว การตัดสินใจนั้นก็ไม่อาจจัดได้ว่าเป็นสิ่งที่เหมาะสมได้
สำหรับการแก้ไขปัญหาในเรื่องการปฏิบัติงาน ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการ 3G แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องมีการสังเกต พิจารณาถึงตัวปัญหาได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน หมายความว่า การปฏิบัติตามหลักการ 3G ให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์นั้น จำเป็นต้องมีหลักการทางทฤษฎี และระเบียบเกณฑ์สนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย


3G = พื้นที่จริง (GENBA) ของจริง( GENGUTSU )
สถานการณ์จริง( GENJITSU )
2G = หลักการทางทฤษฎี( GENRI ) ระเบียบกฎเกณฑ์( GENSOKU )
หลักการ 5G = ( พื้นที่จริง + ของจริง + สถานการณ์จริง )
( หลักการทางทฤษฎี + ระเบียบเกณฑ์ )
หลักการ 3G : จะต้องไปที่พื้นที่จริงที่เกิดปัญหา
ดูของจริงและคิดถึงสถานการณ์ จริง ณ จุดปฏิบัตินั้นๆ
หลักการทางทฤษฎี : หลักการ หรือ ทฤษฎีพื้นฐานที่สามารถอธิบายเหตุการณ์ต่างๆได้
ระเบียบกฎเกณฑ์ : ระเบียบข้อบังคับพื้นฐาน หรือ หลักเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลง
ตามกาลเวลา

2.) การเปลี่ยนแปลง = พัฒนาการ
การบริหารธุรกิจ เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดงานที่มี “ การเพิ่มมูลค่า ” ( Value Added ) ซึ่งเป็นผลมาจากการทำให้เกิด “ การเปลี่ยนแปลง ” ของแหล่งทรัพยากรทางธุรกิจ คือ “ บุคลากร สิ่งของ เงินทุน ข่าวสาร เวลา ” ดังนั้นในการบริหารธุรกิจควรวางเป้าหมาย โดยหวังว่าจะทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าให้มากที่สุดไม่ว่าจะเป็นงานประเภทใด “ การเปลี่ยนแปลง ” จะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการประกอบธุรกิจ จะต้องมีการดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นอยู่เสมอ
แต่จะมีปัญหาตรงที่ เราควรจะดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด จึงก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพในเชิงธุรกิจ
สถานที่ซึ่งจะก่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ก็คือ พื้นที่ปฏิบัติงานจริง สิ่งของที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ ของจริง สภาพแวดล้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงจริง ดังนั้น หลัก 3G ก็คือการบอกกล่าวเป็นนัยว่า “ จงไปดูเพื่อรับทราบความเป็นจริงที่พื้นที่จริง ที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ นั่นเอง ”
ในความเป็นจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ก็ยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ อีกด้วย เป็นเพราะ การเปลี่ยนแปลงนั้นมีอยู่หลายประเภทด้วยกัน คือ จะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และได้มีการวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว ก็จะสามารถจัดการปัญหาต่างๆได้ แต่หากเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ประจำ หรือไม่สามารถคาดการณ์ได้ ก็ไม่สามารถจัดการปัญหาได้ทันท่วงทีและมีประสิทธิผล
ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นไปในลักษณะใดก็ตาม นอกจากการเปลี่ยนแปลงจะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆได้อีกด้วย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกิดขึ้นประจำ มันก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมาเสมอ
การที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่ประจำได้นั้นก่อนอื่นต้องเข้าใจให้ถ่องแท
้ถึงสภาพปรกติในการปฏิบัติงานประจำให้ได้เสียก่อน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ สภาพเหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นในพื้นที่จริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบพื้นที่จริง เพื่อค้นหาการเปลี่ยนแปลง อาจสรุปได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมสายงานจะต้องเรียนรู้ และนำเอาหลัก 5G ไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้

3.) หลักการทางทฤษฎี ระเบียบกฎเกณฑ์ และมูลค่าที่เพิ่มขึ้นกับการเปลี่ยนแปลง
หากการเปลี่ยนแปลงใดจะก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่า หรือก่อนให้เกิดปัญหาต่างๆ นั้น ขึ้นอยู่กับว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นสอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎีและระเบียบกฎเกณฑ์ หรือไม่
หลักเบื้องต้นของการทำให้เกิด “ การเพิ่มมูลค่า ” อย่างมีประสิทธิภาพนั้นก่อนอื่นจำเป็นต้องพิจารณาว่า การเปลี่ยนแปลงที่กระทำลงไปนั้น สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎี และระเบียบตามธรรมชาติหรือไม่ หากการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎีและระเบียบกฎเกณฑ์แล้ว ก็จะก่อนให้เกิดปัญหาได้ การที่มีปัญหาเกิดขึ้นมากมายจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้น หมายความว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ไม่สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎี และระเบียบกฎเกณฑ์อยู่เป็นจำนวนมากนั่งเอง
กล่าวคือ ควรจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะที่สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎี และระเบียบกฎเกณฑ์เท่านั้น และยังควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับพื้นที่จริง ของจริง และสถานการณ์ความเป็นจริงในการปฏิบัติงานด้วย หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ไม่สามารถที่จะทำให้ระบบงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ความพยายามที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีและมีคุณภาพนั้นอาจไร้ค่า
แต่ในโลกความเป็นจริงนั้น ผลของความพยายามที่จะก่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีคุณภาพนั้นอาจเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นในทางลบก็ได้ หมายความว่าอาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้นบ้าง แม้จะเป็นส่วนน้อยมากก็ตาม การที่เราตั้งใจทำจริงแล้ว พยายามแล้ว แต่ได้ผลลัพธ์ที่ไม่สามารถพึงพอใจได้นั้น อาจเป็นเพราะแนวทางปฏิบัติไม่สอดคล้องกับพื้นที่จริง ของจริง และสถานการณ์จริงในการปฏิบัติงาน หรือ การเปลี่ยนแปลงที่ถูกก่อให้เกิดขึ้นนั้น อาจไม่สอดคล้องกับหลักการทางทฤษฎีและระเบียบกฎเกณฑ์ นั่นเอง
ถ้าหากการเปลี่ยนแปลงของแหล่งทรัพยากรทางธุรกิจ เป็นไปตามหลักการปฏิบัติที่เน้น พื้นที่จริง ของจริง และสถานการณ์จริงในการปฏิบัติงานที่อยู่บนพื้นฐานของหลักการทางทฤษฎีและระเบียบเกณฑ์แล้ว ก็จะก่อให้เกิดผลกำไรซึ่งถือเป็นมูลค่าเพิ่มในด้านบวก เนื่องจากเป้าหมายของการบริหารการจัดการ คือ การเปลี่ยนแปลง ที่ก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าที่มีปริมาณสูงสุด ดังนั้น จังอาจนับได้ว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามหลักการ 5G อย่างเคร่งครัด
สำหรับหลักการทางทฤษฎีนั้นจัดว่ามีความเป็นสากลอยู่มากไม่มีข้อยกเว้นในประเภทงานธุรกิจ หรือ ประเทศที่ใช้หลักการ 5G นี้ ตามปกติเมื่อมีการค้นพบหลักการทฤษฎีใหม่ขึ้น อาจทำให้ทฤษฎีเก่าที่มีอยู่ถูกลบล้างไปได้ง่ายๆ แต่ในกรณีของหลักการ 5G นี้ มิได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากกฎเกณฑ์ที่นำมาใช้ นอกจากจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย หรือขนาดของธุรกิจแล้ว ยังมีความแตกต่างกันทางธรรมเนียมประเพณีและสภาพแวดล้อมของประเทศนั้นด้วย
การนำแนวคิดทั้ง 2 ประการคือ หลักการทางทฤษฎี และ ระเบียบกฎเกณฑ์มาใช้นี้ จะทำให้สามารถมาองเห็น “ การเปลี่ยนแปลง ” ชนิดใดๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ


4.) การควบคุมกับเทคโนโลยี
บริษัทที่ดำเนินการผลิตสินค้านั้น เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีผลต่อการผลิตสินค้า และแน่นอนเทคโนโลยีนั้นจะต้องมีพื้นฐานมาจากส่วนที่เป็นหลักการทางทฤษฎีอยู่แล้ว ดังนั้นคำว่า ทฤษฎีของหลักการ 5G นั้นสมควรที่จะกล่าวว่าเป็นการเน้นถึงเทคโนโลยี หรือในทางกลับกัน หากไม่มีเทคโนโลยีแล้วก็ไม่สามารถผลิตสินค้าออกมาได้ คำว่า เทคโนโลยีที่กล่าวถึงนี้ ยกตัวอย่างเช่น การตัด การแต่งขึ้นรูป การเชื่อมโลหะ การชุบโลหะ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้เป็นเทคโนโลยีเฉพาะด้าน
เทคโนโลยีประเภทนี้จำเป็นที่จะต้องมีหลักการทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐานสนับสนุนอยู่แล้ว และมีหลักการและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและแน่นอน แต่จากเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวก็ไม่อาจที่จะยืนยันได้ว่าธุรกิจนั้นจะประสบความสำเร็จ เพราะอีกจุดหนึ่งที่ควรพิจารณาด้วยคือ การควบคุม เมื่อกล่าวถึงการควบคุมในเชิงเทคโนโลยีแล้ว ก็จะต้องนึกถึง การควบคุมคุณภาพ โดยทั่วไปเราเรียกสิ่งนี้ว่า เทคโนโลยีการควบคุม เทคโนโลยีการควบคุมนี้เป็นเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมได้ทุกสายงาน โดยไม่มีผลกับเทคโนโลยีเฉพาะใดๆ
เทคโนโลยีการควบคุม เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้มองเห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น และในการแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เทคโนโลยีเฉพาะด้านเข้ามาช่วย ก่อนอื่นจะต้องบอกว่า จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเฉพาะด้าน เนื่องจากไม่มีการผลิตสิ่งของในสถานที่ที่ไม่มีเทคโนโลยีเฉพาะด้าน และหากมีเทคโนโลยีเฉพาะดังกล่าวแล้วก็จะสามารถหาเทคโนโลยีการควบคุมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

    สรุป ความแตกต่างระหว่าง 2G  3G  4G และ 5G

            2G  เริ่มแรกเป็นระบบเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนการสนทนากันได้ทันที แต่ได้เพียงแค่เสียง รับ-ส่งข้อมูลที่เป็นข้อความและภาพขาว-ดำ ได้ในจำนวนหนึ่ง  รูปแบบข้อมูลเสียงเป็นโมโนโทน  มี Application ง่ายเครื่องมือการสื่อสารระบบนี้ เช่น  โทรศัพท์มือถือหน้าจอขาว-ดำ เป็นต้น  และพัฒนาต่อมาเป็นระบบ 2.5และ2.75G  ที่พัฒนา Application ที่หลากหลายมากขึ้น  รับและส่งข้อมูลรูปแบบสีสันเสมือนจริง  ระบบเสียงเป็นโพลีโฟนิกซ์และ mp3 เสมือนจริงตามลำดับ  เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ผ่านเครือข่ายผู้ให้บริการ  รับ-ส่ง และดาวโหลดข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี GPRS และ EDGE ได้ แต่ไม่สามารถดาวโหลดข้อมูลที่มีขนาดและความละเอียดที่สูงมากได้  การสนทนายังเป็นรูปแบบแลกเปลี่ยนเสียงเหมือนเดิม
            3G  พัฒนามาจาก 2G เครื่องมือที่รองรับมี Application ที่หลากหลายมากขึ้น  รับ-ส่ง และดาวโหลดหรืออัพโหลดข้อมูลได้จำนวนมากๆ  และมีความละเอียดสูง  ที่สำคัญคือสามารถสนทนาและประชุมผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ได้ โดยคู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้ากันและกันขณะพูด  เข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ต้องสมัครหรือล็อกอิน( Always on )ได้ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องมือใช้งาน  และเชื่อมต่อเครือข่ายได้ทุกที่ทั่วโลก
  
           4G  พัฒนาต่อยอดจาก 3G  เป็นการประยุกต์เอารูปแบบการสื่อสารทั้งหมดที่มีประสิทธิภาพมารวมกันเป็นระบบเดียว  รูปแบบและระบบการทำงานบางอย่างเหมือนกับ 3G  แต่มีการเพิ่มขีดความสามรถการรับส่งข้อมูล  ดาวโหลด อัพโหลด เข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์-เอ็กซ์เตอร์เน็ตได้มากกว่าระบบเดิม  มีความเร็วสูงสุดเท่าที่เคยพัฒนามา  จัดการข้อมูลที่มีความละเอียดและขนาดใหญ่มากๆ ได้ทันทีและรวดเร็ว  ดูภาพวีดีโอเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สดๆ และละเอียดสมจริงไม่สะดุด  ระบบ 4G นี้กำลังได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบสากลและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในอนาคต 

แหล่งที่มา>>>http://www.learners.in.th/blogs/posts/361297
     http://www.ie.psu.ac.th/student_performance/5G/index2.html



วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556






ทำไมต้องเรียนระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

     เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อการดำรงชีวิตโดยเฉพาะการประกอบธุรกิจที่มีการแข่งขันที่รุนแรง เพื่อให้ธุรกิจสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้จึงต้องมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ ดังนั้นเราจึงต้องเรียนวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเพื่อจะได้นำเทคโนโลยีที่ทีนสมัยใหม่มาใช้ทั้งการเรียนและการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ และยังสามารถช่วยให้เราทำงานได้รวดเร็วและใช้ทรัพยากรน้อยลงแต่ได้งานที่มีคุณภาพ