วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

    องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
       การสื่อสารข้อมูล(datacommunication)คือการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ตั้งแต่2ตัวขึ้นไปซึ่งข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันนี้มีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่าง เช่น ตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้นเปรียบเทียบอย่างง่าย ๆ การสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็เหมือนกับการพูดระหว่างนักเรียนในกลุ่มหรือการโทรศัพท์คุยกัน ข้อมูลในที่นี้คือบทสนทนาที่นักเรียนแปลกเปลี่ยนกันนั่นเอง เราสามารถเปรียบเทียบการใช้งานคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการนำ ระบบเครือข่ายมาใช้ได้ดังนี้
สมัยก่อน : เราจะต้องพิมพ์ข้อมูลออกมาเป็นเอกสาร หรือเก็บข้อมูลลงแผ่นบันทึก แล้วอาศัยพนักงานในการส่งเอกสารและแต่ละคนจะทำงานโดยอาศัยทรัพยากรหรือซอฟต์แวร์ที่มีอยู่ในเครื่องตนเอง
ปัจจุบัน : เราสามารถรับส่งข้อมูลกันได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่าย และยังสามารถใช้ทรัพยากรทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ร่วมกันได้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพทั้งการทำงานและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่
   ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล

ปัจจัยสำคัญในการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลจะสำเร็จได้ต้องประกอบด้วย 6 ปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่ง (sender หรือ sending device) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เริ่มออกคำสั่งในการส่งข้อมูล ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ
2. ข้อมูลข่าวสาร (message) คือข้อมูลที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ ซึ่งข้อมูลนี้อาจจะเป็นข้อความตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น
3. โพรโทคอล (protocol) คือข้อกำหนดมาตรฐาน หรือข้อตกลงในเรื่องรูปแบบของข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับโพรโทคอลเปรียบเสมือนภาษาที่นักเรียนใช้ในการพูดคุยกัน ถ้าเราใช้ภาษาไทยในการสนทนาเพื่อนทุกคนก็เข้าใจแต่ถ้านักเรียนใช้ภาษาอื่นที่เพื่อนไม่รู้จักจะทำให้เกิดความสับสนไม่สามารถสื่อสารกันได้
4. ช่องทางการสื่อสาร (communication channel) คือช่องทาง หรือเส้นทางในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ อันได้แก่ สายโทรศัพท์ คลื่นวิทยุและสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
5. ตัวแปลงสัญญาณ (communication device) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงข้อมูลที่ต้องการส่งให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่จะใช้และแปลงสัญญาณที่ได้จากช่องทางการส่งข้อมูลเมื่อถึงปลายทาง ให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้รับเข้าใจ
6. ผู้รับ (receiver หรือ receiving device) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกับผู้ส่งหรือไม่ก็ได้ อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาเวิร์กสเตชันหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เป็นต้น
     
 การส่งสัญญาณข้อมูล
    การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลจากเครื่องส่งหรือผู้ส่ง ผ่านสื่อกลางไปยังเครื่องรับหรือผู้รับ สัญญาณที่ใช้ส่งก็ได้แก่ สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สัญญาณเสียง หรือแสงก็ได้

       รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One – way หรือ Simplex) เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูดเพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
 3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full – Duplex) เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่ง และรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูดโทรศัพท์
   
ลักษณะของวิธีการสื่อสาร
1. แบบมีสาย เช่น สายโทรศัพท์ เคเบิลใยแก้วนำแสง เป็นต้น สื่อที่จัดอยู่ในการสื่อสารแบบมีสายที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่

 - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและ นิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ 

 - สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair) มีราคาถูกและ นิยมใช้กันมากที่สุด ส่วนใหญ่มักใช้กับระบบโทรศัพท์ แต่สายแบบนี้มักจะถูกรบกวนได้ง่าย และไม่ค่อยทนทาน
- สาย Coaxial สายแบบนี้จะประกอบด้วยตัวนำที่ใช้ในการส่งข้อมูลเส้นหนึ่งอยู่ตรงกลางอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน ระหว่างตัวนำสองเส้นนี้จะมีฉนวน พลาสติกกั้นสายโคแอคเชียลแบบหนาจะส่งข้อมูลได้ไกลกว่าแบบบางแต่มีราคาแพงและติดตั้งได้ยากกว่า
- ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber) ทำจากแก้วหรือพลาสติกมีลักษณะเป็นเส้นบางๆคล้าย เส้นใยแก้วจะทำตัวเป็นสื่อในการส่งแสงเลเซอร์ที่มีความเร็ว ในการส่งสัญญาณเท่ากับความเร็วของแสง

  ข้อดีของใยแก้วนำแสง คือ

1. ป้องกันการรบกวนจากสัญญาณไฟฟ้าได้มากก
2. ส่งข้อมูลได้ระยะไกลโดยไม่ต้องมีตัวขยายสัญญาณ
3. การดักสัญญาณทำได้ยาก ข้อมูลจึงมีความปลอดภัยมากกว่าสายส่งแบบอื่น
4. ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงและสามารถส่งได้มาก ขนาดของสายเล็กและน้ำหนักเบา

2. แบบไม่มีสาย เช่น ไมโครเวฟ, ดาวเทียม , 3G ระบบ 3G ( UMTS ), Wireless X และ GPRS


- ไมโครเวฟ (Microwave)

สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุเดินทางเป็นเส้นตรง อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับ – ส่ง คือ จานสัญญาณไมโครเวฟซึ่งมักจะต้องติดตั้งในที่สูง และมักจะให้อยู่ห่างกัน ประมาณ 25 – 30 ไมล์ ข้อดีของการส่งสัญญาณด้วยระบบ ไมโครเวฟ ก็คือ สามารถส่งสัญญาณด้วยความถี่กว้าง
และการรบกวนจากภายนอกจะน้อยมากจนแทบไผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ 
ม่มีเลย แต่ถ้าระหว่างจานสัญญาณไมโครเวฟมีสิ่งกีดขวางก็จะทำให้การส่งสัญญาณไม่ดีหรืออาจส่งสัญญาณไม่ได้ การส่งสัญญาณโดยใช้ระบบไมโครเวฟนี้จะใช้ในกรณีที่ไม่สามารถจะติดตั้งสายเคเบิลได้ เช่น อยู่ในเขตป่าเขา
- ดาวเทียม (Satellite)
มีลักษณะการส่งสัญญาณคล้ายไมโครเวฟ แต่ต่างกันตรงที่ ดาวเทียมจะมีสถานีรับ – ส่งสัญญาณลอยอยู่ในอวกาศ จึงไม่มีปัญหาเรื่องส่วนโค้งของผิวโลกเหมือนไมโครเวฟ ดาวเทียมจะทำหน้าที่ขยายและทบทวนสัญญาณให้แรงเพิ่มขึ้นก่อนส่งกลับมายังพื้นโลก ข้อดีของการสื่อสารผ่านดาวเทียม
คือ ส่งข้อมูลได้มากและมีความผิดพลาดน้อย ส่วนข้อเสีย คือ อาจจะมีความล่าช้าเพราะระยะทางระหว่างโลกกับดาวเทียม หรือถ้าสภาพอากาศไม่ดีก็อาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้
- 3G ระบบ 3G (UMTS)
คือการนำเอาข้อดีของ ระบบ CDMA มาปรับใช้กับ GSM เรียกว่า W-CDMA ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท NTT DoCoMo ของญี่ปุ่น
- Wireless X
Wireless X หรือระบบ Network แบบไร้สาย ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารภายใต้มาตรฐาน IEEE 802.11ซึ่งอุปกรณ์ทุกตัว ที่ต่างยี่ห้อกันนั้นจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ประสบปัญหา หากอุปกรณ์นั้นผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานก็จะมีการประทับตรา Wi-Fi Certified ซึ่งหมายความว่า อุปกรณ์ตัวนี้สามารถเชื่อมต่อแบบไร้สายกับ อุปกรณ์อื่นที่มีตรา Wi-Fi Certified ได้ แล้วจึงกลายมาเป็นคำศัพท์ของอุปกรณ์ LAN ไร้สาย
- GPRS
- เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นบนเครือข่ายเดิมเพื่อให้การส่งข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีการส่งข้อมูลแบบรวดเร็ว ซึ่งใช้ได้กับเครือข่ายระบบ GSM ช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับการติดตั้งและทำให้ระยะเวลาในการส่งข้อมูล รวดเร็วยิ่งขึ้น
- เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาเพื่อการใช้ Mobile Internet ด้วยความสะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ท่านสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างสะดวก และง่ายดาย ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่
- นวัตกรรมใหม่ที่ทำให้การส่งข้อมูลมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วจากเดิมเพียงแค่ 9.6 Kbps เป็น 40 Kbpsช่วยให้ท่านสามารถเชื่อมต่อทางอินเตอร์เน็ต ได้ภายในเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน เมื่อไหร่
- การส่งข้อมูลแบบใหม่ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งจะประกอบไปด้วยรูปภาพที่เป็นกราฟิก เสียงและวิดีโอ เช่นการใช้ Video Conference

เอกสารอ้างอิง>>
                             : http://school.obec.go.th/suwalag/00/sersan1.html :                     http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/tech04/24/n1_217.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น